Skip to Content

เหมืองแร่วิธีการจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

เหมืองแร่วิธีการจัดการผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

Closed
by August 8, 2018 Knowledge news

เข้าใจกันดีว่าการพัฒนาทรัพยากรแร่ขึ้นมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสร้างรายได้ พร้อมการเจริญเติบโตใสเชิงบวกให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ อย่างไรก็ตามการประกอบธุรกิจเหมืองแรในช่วงที่ผ่านมา ได้ถูกร้องเรียนรวมถึงมีการเรียกค่าเสียหายจากผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง สังเกตง่ายๆ อย่างผลกระทบต่อระบบนิเวศด้านเสียง ฝุ่นซึ่งเกิดจากการใช้ระเบิด ผลกระทบที่มีต่อแหล่งน้ำใต้ดิน การปนเปื้อนจากสารอันตรายในดินอันส่งผลกระทบต่อสังคม ในพื้นที่รวมถึงสุขภาพของประชาชนที่พักอาศัยในบริเวณดังกล่าว มีความแตกต่างกันไปตามประเภทของแร่และมลพิษซึ่งเกิดจากกระบวนการผลิตและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Mine

สิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่ได้รับผลกระทบจึงต้องมีการจัดการกับเหมืองแร่

ได้มีการดำเนินการจากทางภาครัฐนอกจากการที่ ครม. มีมติให้บางบริษัทยุติการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำ ก็มีความน่าสนใจว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการสร้างมาตรการซึ่งลดผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมบวกกับการเยียวยาผลกระทบทางด้านสุขภาพของประชาชนอย่างไรบ้าง ทำไมข้อร้องเรียนจากประชาชนยังคงเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษารายละเอียดดังกล่าวพบว่า มาตรการรองรับการทำเหมืองแร่จะประกอบไปด้วยมาตรการกำกับและควบคุม เป็นตัวกำหนดมาตรฐานพร้อมแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับการทำเหมืองแร่ กำหนดให้มีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมก่อนให้ประทานบัตร การควบคุมเรื่องการปล่อยมลพิษ เฝ้าระวัง การตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม มีการดำเนินมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้ผู้ก่อมลพิษรับผิดชอบในความเสียหาย กับผู้ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวและสิ่งแวดล้อม

มาตรการด้นเศรษฐศาสตร์ คือการเลือกใช้เครื่องมือเกี่ยวกับเรื่องการเงินการคลัง มีการเรียกค่าปรับจากผู้ประกอบการเหมืองซึ่งได้กระทำผิด ให้จ่ายค่าชดเชยความเสียหายกับผู้ที่ได้รับผลกระทบและผู้ผลิตที่เกิดความเสียหาย มีการจัดตั้งกองทุนเยียวยาปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในบริเวณนั้นๆ

มาตรการทางสังคม คือการเลือกให้ความรู้กับประชาชนในบริเวณพื้นที่นั้นๆ สำหรับการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องพร้อมการป้องกันผลกระทบต่างๆ มีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทุกคนคำนึงถึงเรื่องสภาพแวดล้อม โดยรอบด้วยซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้ประกอบการเช่นกัน

ต้องยอมรับว่าเหมืองแร่แม้จะสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติแต่อีกมุมหนึ่งก็สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ ผู้คน สิ่งแวดล้อม ในบริเวณนั้นๆ ไม่น้อยเช่นกัน การเรียนรู้พร้อมทำความเข้าใจไปด้วยกันคือสิ่งดีๆ ที่จะทำให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างสงบสุข ไม่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาภายหลัง เรียกว่าเป็นการได้ประโยชน์พร้อมกันทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการเหมืองแร่เองและประเทศชาติกับประชาชนในส่วนของเศรษฐกิจ การทำความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้คือเรื่องที่ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้ให้มากพร้อมมองความเป็นกลางให้ออก

Previous
Next