Skip to Content

อันตรายจากเหมืองแร่โปแตชที่ไม่ควรมองข้าม

อันตรายจากเหมืองแร่โปแตชที่ไม่ควรมองข้าม

Closed
by October 12, 2018 Knowledge news

หากย้อนกลับไปกว่า 20 ปีที่แล้ว ทางรัฐบาลเองได้มีการวางแผนเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่โปแตชขึ้นมาในประเทศไทย ซึ่งการทำเหมืองแร่ดังกล่าวได้มีการดำเนินการส่วนหนึ่งบริเวณอำเภอบำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ อย่างไรก็ตามแหล่งเหมืองแร่โปแตชที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และคาดว่าน่าจะให้ผลได้ยาวนานกว่าจะอยู่ที่อำเภอเมือง จ.อุดรธานี ซึ่งเหมืองนี้เป็นการร่วมทุนกันระหว่างรัฐบาลไทยกับผู้ลงทุนจากต่างประเทศ มีแนวโน้มว่าน่าจะเตรียมเปิดดำเนินการในระยะเวลาไม่นานเท่าไหร่ เพราะกฎหมายมีผลต่อการทำเหมืองที่ได้รับการปรับแก้ไขเมื่อปี พ.ศ. 2545 หลังมีการพยายามผลักดันจากผู้ลงทุนด้านกลุ่มเหมืองแร่มายาวนาน

Potash-mine
อันตรายที่ได้รับจากเหมืองแร่โปแตช

อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2545 – 2546 เริ่มมีประชาชนในพื้นที่รวมตัวกันประท้วงเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ดังกล่าว ซึ่งสื่อมวลชนก็ได้มีการนำเสนอในแง่ของการเป็นโครงการขนาดใหญ่ภายใต้ การสนับสนุนของรัฐบาลที่ต้องมีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อสรุปรายละเอียดต่างๆ แล้วเราจะพบว่าอันตรายจากเหมืองแร่โปแตชมีรายละเอียดต่างๆ คือ
1. ผลกระทบทางด้านเกษตรกรรม – ต้องยอมรับว่าบ้านเราเรื่องของเกษตรกรรมยังคงเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่งในการทำมาหากิน การใช้ชีวิตของผู้คนโดยเฉพาะตามต่างจังหวัด เมื่อเกิดปัญหาดินเค็มและน้ำเค็มที่ค่อยๆ ขยายพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ จากการแต่งแร่รวมไปถึงความเค็มจากกองเกลือสร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย การทำมาหากินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2. ผลกระทบทางด้านสุขภาพ – การทำเหมืองแร่ปฏิเสธไม่ได้ว่าจะต้องเกิดมลพิษขึ้นอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศ, มลพิษขณะทำเหมือง, ฝุ่นเกลือ และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้มลพิษดังกล่าวยังส่งผลระยะยาวต่อบรรดาสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย
3. ความเสี่ยงเกี่ยวกับพื้นที่ – ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดินทรุด ดินถล่ม หรืออุบัติเหตุต่างๆ จากการทำเหมืองแร่ล้วนเป็นเรื่องอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่อยู่บริเวณพื้นที่นั้นๆ ทั้งสิ้น
4. ผลกระทบด้านวิถีชีวิตคนในพื้นที่ – แน่นอนว่าการทำเหมืองแร่ไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม ย่อมส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตคนในท้องถิ่นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องหากมองในภาพรวมอาจดูดีแต่เมื่อมองให้ลึกลงไป จะเห็นว่าส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวบ้านมากมาย
5. ผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ – ด้วยการทำเหมืองแร่สามารถดำเนินการได้ลึกลงไปในชั้นใต้ดินกว่า 100 เมตร ซึ่งไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้โดยที่หลายคนคาดไม่ถึง
นี่คืออันตรายจากเหมืองแร่โปแตชที่อาจยังไม่ค่อยมีใครคาดคิดมากนัก แต่ในระยะเวลายาวๆ จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างหลีกกเลี่ยงไม่ได้

Previous
Next

One commentcomments

  1. แร่โปแตช ภาษาชาวบ้านเรียกว่า “เกลือหิน” หรือ Rock Salt ในภาษาอังกฤษนั่นเอง มันดูอันตราย หรือสำหรับแร่ประเภทนี้ เมื่อก่อนประเทศไทยก็อยากจะทำเหมืองแร่นี้กับเค้าด้วยหรอ แต่ Ligaz888 มันก็นานแล้วตั้งแต่ 2545 คงไม่มีเหมืองแนวนี้ในยุคสมัยนี้แล้วละมั้ง จากที่เข้าไปหาอ่านข้อมูลมากการทำเหมือนแร่โปแดช มันเกิกปัญหาตรงที่ว่า หางเกลือที่ไม่มีประโยชน์ และไม่สามารถที่จะอาไปทำอะไรได้ ซึ่งแน่นอนว่ามันมีผลกระสบต่อสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงอย่างแน่นอน