Skip to Content

การทำเหมืองแร่ทองคำ

การทำเหมืองแร่ทองคำ

Closed
by April 24, 2019 Knowledge news

เหมืองแร่ทองคำ เป็นเหมืองแร่ที่มีทรัพยากรสามารถนำไปถลุงเพื่อใช้งานด้านโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเหมืองแร่ที่มีมูลค่าต่อเศรษฐกิจภายในประเทศและนอกประเทศด้วย การทำเหมืองแร่ทองคำแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เหมืองแบบเปิดและเหมืองใต้ดิน ส่วนในประเทศไทยมีเหมืองแบบเปิดแต่เริ่มทยอยปิดตัวลง เพราะมีมลพิษระหว่างการทำเหมืองส่งผลเสียมายังชุมชน ทำให้รัฐบาลต้องสั่งปิดเหมืองในที่สุด

 

Gold-mining-pic

ประเภทการทำเหมืองแร่

การทำเหมืองแบบเปิด

เหมืองทองคำแบบเปิด คือ เหมืองที่ใช้บริเวณพื้นผิวดินในการขุดเจาะเป็นลานกว้าง เพื่อขุดหาแร่ทองคำที่อยู่ไม่ลึกมากจากผิวดิน ลักษณะการทำเหมืองแบบเปิด โดยเริ่มจากค่อยๆ เปิดหน้าผิวดินลงไปเรื่อยๆ จนถึงแหล่งทองคำ ถ้าหากทองคำอยู่ลึกมากเท่าไหร่ยิ่งต้องเปิดหน้าดินให้กว้างมากขึ้นเท่านั้น เพื่อสะดวกปลอดภัยให้การค้นหาและการลำเลียงขึ้นมา การทำเหมืองจึงต้องใช้เครื่องมือหนักๆ เครื่องเจาะ รถขุด รถตัก รถขนแร่ การใช้ระเบิดเพื่อเปิดหน้าเหมืองและทำเป็นบันไดวนลงไปเพื่อค้นหาแร่ทองคำ
ข้อควรระวังในการทำเหมืองแบบเปิด
– ฝุ่นละอองกระจายขึ้นสู่อากาศ
– สารพิษที่ปนเปื้อนจากการระเบิดหน้าผิวดิน อาจฟุ้งกระจายเป็นบริเวณกว้าง แล้วลงสู่แม่น้ำ ซึมเข้าสู่พืชผักต้นไม้
– เป็นมลพิษต่อชุมชน ชาวบ้านป่วยเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

การทำเหมืองใต้ดิน

เหมืองทองคำใต้ดิน คือ เหมืองที่ใช้พื้นที่ใต้พิภพในการขุดเจาะเพื่อขุดหาแร่ทองคำที่อยู่ลึกจากผิวดินมาก ลักษณะการทำเหมืองใต้ดิน เริ่มจากการเปิดหน้าผิวดินเพื่อหาช่องทางสำหรับเส้นทางขนส่งเครื่องมือ อุปกรณ์ ลิฟต์ รถราง เข้าไปหายังแหล่งแร่ เส้นทางขนส่งนั้นอาจทำเป็นอุโมงค์ทางเข้าออกแบบราบ แบบเอียง แบบแนวดิ่ง หรือเป็นเส้นทางอื่นเพื่อใช้ลงสู่แหล่งแร่ที่อยู่ในระดับลึก เมื่อถึงแหล่งแร่แล้วจะทำเป็นบริเวณกว้าง ลาน หรืออุโมงค์ เพื่อสะดวกในการขุดเจาะ
ข้อควรระวังในการทำเหมืองแร่ใต้ดิน
– เป็นเหมืองที่มีความเสี่ยงต่อชีวิตสูง เพราะต้องเจอกับสภาวะแก๊สรั่วไหล แผ่นดินไหวจากการระเบิด อาจเสี่ยงหินหล่นทับได้
– คนงานต้องเจอสภาพอากาศภายในที่มีความร้อนถึง 50 องศาเซลเซียส เสี่ยงป่วยเป็นฮีทสโตรก
– อากาศไม่ถ่ายเทและไม่เพียงพอต่อการหายใจของคนงาน ต้องออกแบบการขุดเจาะเพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
การทำเหมืองแร่ทองคำหรือเหมืองอื่นๆ ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ชุมชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการตัดสินใจทำเหมืองต้องมีการศึกษาและจัดทำแผนงานก่อนจะเริ่มต้นทำโครงการ รวมถึงการชี้แจงให้กับชุมชนโดยรอบเพื่อให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับกับปัญหาที่ต้องเกิดขึ้น ทั้งนี้การทำเหมืองต้องมีระบบจัดการของเสียและควบคุมมลพิษให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมก่อนปล่อยทิ้งสู่ธรรมชาติ เพื่อให้มั่นใจว่าของเสียสารเคมีที่ตกค้างจะไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโดยรอบเหมือง

Previous
Next